ข้อมูลทั่วไป
ตำบลนาหว้ามีพื้นที่รวม ๗๕.๔๖ ตร.กม.หรือคิดเป็นเนื้อที่ ๔๕,๘๗๕ ไร่โดยประมาณ มีจำนวนประชากรสำรวจ ณ. เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ รวมทั้งสิ้น ๖,๓๔๖ คน จาก ๑,๓๖๔ ครัวเรือน แยกเป็นประชากรชาย ๓,๑๖๙ คน หญิง ๓,๑๗๗ คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ | ติดกับ | ตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม |
ทิศใต้ | ติดกับ | ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม |
ทิศตะวันออก | ติดกับ | ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม |
ทิศตะวันตก | ติดกับ | ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม |
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลนาหว้าเป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่บางส่วนที่น้ำท่วมถึงในช่วงฤดูฝนในบริเวณที่ลำน้ำอูนไหลผ่านแต่ไม่เป็นอุทกภัยรุนแรง ลักษณะโดยทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อการกษตรอย่างเพียงพอ
สภาพภูมิกากาศ
ลักษณะอากาศของตำบลนาหว้ามีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที ๓๕-๓๙.๙ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ ๔๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ ๑๕ องศาเซลเซียส ฤดูกาลแบ่งได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน | เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางปีที่สภาพอากาศแปรปรวนอาจมีอากาศเย็นเฉียบพลัน ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรือมีลูกเห็บตกเรียกว่า “พายุฤดูร้อน” ทำความเสียหายให้แก่ประชาชนในวงกว้าง ปรกติแล้วช่วงอากาศร้อนจะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๕ องศาเซลเซียส เฉพาะวันที่ร้อนจัดในบางปีอุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป |
ฤดูฝน | เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม มีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นบางปีในช่วงเดือนกรกฎาคมที่อาจเกิดเหตุการณ์ “ฝนทิ้งช่วง” นานประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ หรืออาจยาวนานกว่านั้น รวมถึงอาจมีฝนน้อยเป็นเวลานานนับเดือน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยวัดได้ประมาณ ๙๐๐ มิลลิเมตร |
ฤดูหนาว | เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนไปเป็นฤดูหนาว อากาศจะแปรปรวนไม่แน่นอน อากาศจะเริ่มเย็นลงแต่อาจจะยังมีฝนฟ้าคะนองอยู่บ้าง ช่วงปีที่มีอากาศหนาวที่สุดอุณภูมิต่ำสุดวัดได้ ๑๕ องศา |
ลักษณะและความเหมาะสมของดิน
ลักษณะดินในพื้นที่ตำบลส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ ๗๕ เป็นดินร่วนปนทราย ร้อยละ 15 เป็นดินลูกรัง และร้อยละ ๑๐ เป็นดินเหนียว ลุกษณะโดยรวมจึงเหมาะสมต่อการใช้ที่ดินเพื่อการทำนาปลูกข้าว
ลักษณะอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ ๗๐ ของประชากรในตำบล ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัว ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป การทำนาปลูกข้าวเป็นเกษตรกรรมหลักรองลงมาเป็นการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การทอผ้าเป็นอาชีพเสริมรายได้ยามว่างเว้นจากการทำนา
ทรัพยากรและการท่องเที่ยว
ตำบลนาหว้ามีวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงสถานที่น่าสนใจให้มาเยือน เช่น วัดพระธาตุประสิทธิ์ งานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวญ้อ เป็นต้น
การเมืองการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศจัดตั้งลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ แบ่งเขตการปกครองเป็น 10 หมู่ สามารถมีผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน และมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้หมู่ละ 2 คนรวมเป็น 20 คน จาก 10 เขตเลือกตั้ง
ข้อมูลสำรวจ ณ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ตำบลนาหว้ามีประชากรรวมทั้งสิ้น ๖,๓๔๖ คน แยกเป็นชาย ๓,๑๖๙ คน หญิง ๓,๑๗๗ คน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อบ้าน | หลังคาเรือน | ประชากรรวม | ชาย | หญิง | ชื่อผู้ใหญ่บ้าน |
---|---|---|---|---|---|---|
๖ | บ้านนาพระ | ๗๘ | ๓๙๗ | ๒๑๐ | ๑๘๗ | นายจำลอง อินอุเทน โทร.084-6956824/061-1505473 |
๗ | บ้านตาลน้อย | ๒๐๖ | ๘๗๔ | ๔๔๑ | ๔๓๓ | นายพรชัย อุตมะ โทร.061-9970619/082-1261725 |
๘ | บ้านตาล | ๒๐๐ | ๘๒๒ | ๓๙๘ | ๔๒๔ | นายบุญเพ็ง วงษาเนาว์ โทร.094-4752812 |
๙ | บ้านตาล | ๑๓๕ | ๔๘๕ | ๒๑๘ | ๒๖๗ | นายพรชัย วงษาเนาว์ โทร.080-9036353 |
๑๐ | บ้านหนองบัว | ๒๔๘ | ๙๕๘ | ๔๕๘ | ๕๐๐ | นายละเอียด ประมูล โทร.084-3849990 |
๑๑ | บ้านอูนยางคำ | ๑๒๕ | ๕๘๕ | ๒๗๘ | ๓๐๗ | นายแหลมสิงห์ ประกึ่ง โทร.095-8020601 |
๑๒ | บ้านอูนยางคำ | ๑๔๙ | ๗๑๐ | ๓๓๔ | ๓๗๖ | นายไชยวัน ประกิ่ง โทร.082-5074211 |
๑๓ | บ้านอูนยางคำ | ๑๑๘ | ๕๔๓ | ๒๘๒ | ๒๖๑ | นายสำราญ ไขยหมื่น โทร.098-1539631 |
๑๔ | บ้านโนนห้วยแคน | ๔๔ | ๒๒๙ | ๑๒๑ | ๑๐๘ | นายมิ่ง ชาแสน โทร.098-4368792 |
๑๕ | บ้านตาล | ๑๒๐ | ๕๖๓ | ๒๕๗ | ๓๐๖ | นางสาวคำแพง น้อยนาง โทร.089-3949203 |
รวม | ๑,๔๒๓ | ๖,๓๔๖ | ๓,๑๖๙ | ๓,๑๗๗ |
ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่
หมู่ที่ | ชื่อบ้าน | ชาย | หญิง | รวม | หลังคาเรือน | พื้นที (ตร.กม.) | ทีชุมชน (ตร.กม.) | ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
๖ | บ้านนาพระ | ๒๑๐ | ๑๘๗ | ๓๙๗ | ๗๘ | ๐.๘๐๐ | ๔๙๖ | |
๗ | บ้านตาล | ๔๔๑ | ๔๓๓ | ๘๗๔ | ๒๐๖ | ๐.๗๔๔ | ๑,๑๗๔ | |
๘ | บ้านตาล | ๓๙๘ | ๔๒๔ | ๘๒๒ | ๒๐๐ | ๐.๘๙๐ | ๙๒๓ | |
๙ | บ้านตาล | ๒๑๘ | ๒๖๗ | ๔๘๕ | ๑๓๕ | ๐.๙๙๘ | ๔๘๕ | |
๑๐ | บ้านหนองบัว | ๔๕๘ | ๕๐๐ | ๙๕๘ | ๒๔๘ | ๑.๖๓๗ | ๕๘๖ | |
๑๑ | บ้านอูนยางคำ | ๕๘๕ | ๒๗๘ | ๓๐๗ | ๑๒๕ | ๑.๓๗๐ | ๒๒๔ | |
๑๒ | บ้านอูนยางคำ | ๓๓๔ | ๓๗๖ | ๗๑๐ | ๑๔๙ | ๑.๓๔๗ | ๕๒๗ | |
๑๓ | บ้านอูนยางคำ | ๒๘๒ | ๒๖๑ | ๕๔๓ | ๑๑๘ | ๓.๙๓๐ | ๑๓๘ | |
๑๔ | บ้านโนนห้วยแคน | ๑๒๑ | ๑๐๘ | ๒๒๙ | ๔๔ | ๑.๔๓๔ | ๑๖๐ | |
๑๕ | บ้านตาล | ๒๕๗ | ๓๐๖ | ๕๖๓ | ๑๒๐ | ๐.๕๓๑ | ๑,๐๖๐ | |
รวม | ๓,๑๖๙ | ๓,๑๗๗ | ๖,๓๔๖ | ๑,๔๒๓ | ๑๓.๖๘๑ | ๔๖๔ |
หมายเหตุ 1. จำนวนพื้นที่จากข้อมูลภูมิสารสนเทศตำบล
2. ความหนาแน่น = จำนวนประชากร/จำนวนพื้นที่ชุมชน (ตร.กม.)
2. ความหนาแน่น = จำนวนประชากร/จำนวนพื้นที่ชุมชน (ตร.กม.)
ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงวัย | ช่วงอายุ | รวม | เพศชาย | เพศหญิง |
---|---|---|---|---|
วัยเด็ก | ต่ำกว่า ๖ ปี | ๔๕๗ คน | ๒๓๖ คน | ๒๒๑ คน |
วัยรุ่น | ระหว่าง ๖ – ๑๔ ปี | ๘๖๕ คน | ๔๔๒ คน | ๔๒๓ คน |
เยาวชน | ระหว่าง ๑๔ – ๑๘ ปี | ๓๐๐ คน | ๑๕๘ คน | ๑๔๒ คน |
วัยทำงาน (ช่วงต้น) | ระหว่าง ๑๘ – ๔๙ ปี | ๓,๒๓๒ คน | ๑,๖๒๗ คน | ๑,๖๐๕ คน |
วัยทำงาน (ช่วงปลาย) | ระหว่าง ๔๙ – ๖๐ ปี | ๗๔๒ คน | ๓๖๕ คน | ๓๗๗ คน |
ผู้สูงอายุ | มากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป | ๔๓๔ คน | ๒๐๘ คน | ๒๒๗ คน |
รวมทั้งสิ้น | ๖,๐๓๙ คน | ๓,๐๓๖ คน | ๓,๐๐๓ คน |
หมายเหตุ เฉพาะประชากรที่มีสัญชาติไทย
การศึกษา
ระดับ | ชื่อสถานศึกษา | นักเรียน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ประถมศึกษา | โรงเรียนบ้านตาล (ราษฎร์อุทิศ) | ๒๓๕ คน | |
โรงเรียนบ้านอูนยางคำ | ๑๗๗ คน | ||
โรงเรียนบ้านหนองบัว | ๙๕ คน | ||
โรงเรียนบ้านนาพระโนนห้วยแคน | ๙๑ คน | ||
ก่อนวัยเรียน | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ | ๒๕ คน | |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัว | ๒๕ คน | ||
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาพระ | ๒๓ คน | ||
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาลใหญ่ | ๒๕ คน | ||
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาลน้อย | ๓๒ คน |
ศาสนา
ศาสนา | ประเภท | ชื่อศาสนสถาน | จำนวนอาสนะสงฆ์ | สามเณร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พุทธ | วัด | วัดศรีมงคล | ๔ รูป | ๑๒ | |
วัดป่าตาลใหญ่ | ๖ รูป | – | |||
วัดแสงอุทัยศิริพัฒนาราม | ๔ รูป | – | |||
วัดบ้านนาพระ | – | – | |||
วัดบ้านหนองบัว | ๔ รูป | ๒ | |||
วัดโพธิ์ชัย | ๒ รูป | ||||
วัดป่าโนนรัง | ๓ รูป | ๕ | |||
สำนักสงฆ์ | สำนักสงฆ์บ้านหนองบัว | ๑ รูป | |||
สำนักสงฆ์หนองสโน | ๑ รูป | ||||
รวมทั้งสิ้น | ๒๕ รูป | ๑๙ |
วัฒนธรรม ประเพณี
ประเพณีสรงน้ำพระวันสงกรานต์ ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ช่วงเดือนเมาายนของทุกปี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ช่วงเดือนเมาายนของทุกปี
ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
บุญประเพณีวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา ช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคมของทุปปี
บุญประเพณีวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา ช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคมของทุปปี
ประเพณีลอยกระทง ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
ภาษาถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภาษาถิ่น นอกจากภาษาอีสานที่ใช้กันทั่วไปแล้ว จากที่มีชนดั้งเดิมของเป็นชนชาวญ้อ จึงยังมีการใช้ “ภาษาญ้อ” กันอยู่เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งรากเหง้าของชาติพันธ์
ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการรวมตัวกันตั้งกลุ่มเครื่องจักสานสำหรับใช้ในครัวเรือน วิธีการทอผ้าเลี้ยงไหม และการทอเสื่อจากต้นกก เพื่ออนุรักษมรดกทางวัฒนธรรมนี้ไว้สู่รุ่นต่อๆไป
ข้อมูลการคมนาคมและการขนส่ง
มีหลวงแผ่นดินหมายเลข 2185 ที่เริ่มต้นจากอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร ลากผ่านพื้นที่ตำบลนาหว้าไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม เป็นเส้นทางหลักสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุดิบและสินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรกับภายนอกพื้นที่
นอกจากนี้แล้ว ยังมีระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถลำเลียงขนส่งคนและสิ่งสัมภาระได้ ดังนี้
- เส้นทางเดินรถโดยสาร สายกรุงเทพฯ – ศรีสงคราม(ผ่านพื้นที่ อบต.นาหว้า) – บ้านแพง
- เส้นทางเดินรถโดยสาร สายบ้านแพง – ศรีสงคราม(ผ่านตำบลนาหว้า) – สกลนคร
- เส้นทางเดินรถโดยสาร สายนาหว้า – ศรีสงคราม(ผ่านตำบลนาหว้า) – นครพนม
ข้อมูลสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ถนนและเส้นทางสัญจร ร้อยละ ๗๐ ของถนนและเส้นทางสัญจรในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่เหลืออีกร้อยละ ๓๐ เป็นถนนลูกรังและถนนดินบดอัด ดังนี้
หมู้ที่ | บ้าน | ระยะทางรวมของถนนคอนกรีต | จำนวนถนนลูกรัง/ถนนดิน | ระยะทางรวมของถนนลูกรัง/ถนนดิน |
๖ | บ้านนาพระ | ๐.๘๒ กม. | ๑๑ สาย | ๒๐.๔๐ กม. |
๗ | บ้านตาล | ๒.๐๗ กม. | ๘ สาย | ๗.๑๓ กม. |
๘ | บ้านตาล | ๑.๕๕ กม. | ๕ สาย | ๔.๓๑ กม. |
๙ | บ้านตาล | ๑.๙๑ กม. | ๘ สาย | ๑๒.๑๕ กม. |
๑๐ | บ้านหนองบัว | ๓.๒๑ กม. | ๗ สาย | ๙.๐๐ กม. |
๑๑ | บ้านอูนยางคำ | ๑.๒๖ กม. | ๖ สาย | ๑๕.๕๐ กม. |
๑๒ | บ้านอูนยางคำ | ๑.๒๓ กม. | ๘ สาย | ๑๕.๑๕ กม. |
๑๓ | บ้านอูนยางคำ | ๐.๖๕ กม. | ๗ สาย | ๒๐.๐๐ กม. |
๑๔ | บ้านโนนห้วยแคน | ๑.๒๔ กม. | ๕ สาย | ๖.๙๐ กม. |
๑๕ | บ้านตาล | ๑.๓๓ กม. | ๑ สาย | ๐.๒๕ กม. |
ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง การขยายเขตติดตั้งระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าถึงได้ครบทุกหมู่บ้านแต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน จากการสำรวจพบว่าร้อยละ ๙๑ (หรือจำนวน ๑,๒๐๗ หลังคาเรือน)ของจำนวนรัวเรือนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้ามีไฟฟ้าใช้ ที่เหลืออีกร้อยละ ๙ เป็นครัวเรือนที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชน ระบบสายส่งกระแสไฟฟ้ายังไปไม่ถึง มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธาณะจำนวน ๗๕ จุดบนถนนทุกสายและครอบคุมพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆในชุมชน เพื่อให้แสงสว่างเพียงพอเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจร
ระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค มีการติดตั้งระบบประปาชุมชน(โดยการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดนครพนม)เพื่อให้บริการน้ำสำหรับใช้อุปโภคและบริโภค จากการสำรวจพบว่าร้อยละ ๓๐ (หรือจำนวน ๓๔๒ หลังคาเรือน) มีน้ำประปาใช้ตลอดปี (จำหน่ายน้ำประปาประมาณ ๕๐๐-๕๕๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน)
ระบบสื่อสารสาธารณะ สามารถใช้โทรศัพท์พื้นฐานได้ในบางพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
การไปรษณีย์ มีที่ทำการไปรษณีย์เพื่อการสื่อสารหรือการขนส่งพัสดุภัณฑ์ตั้งอยู่ที่อำเภอนาหว้า ห่างไปทางทิศใต้ ๒ กม.โดยประมาณ
การไปรษณีย์ มีที่ทำการไปรษณีย์เพื่อการสื่อสารหรือการขนส่งพัสดุภัณฑ์ตั้งอยู่ที่อำเภอนาหว้า ห่างไปทางทิศใต้ ๒ กม.โดยประมาณ
การสาธารณสุข มีแพทย์ประจำตำบล มีโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอ จำนวน 1 แห่งอยู่ห่างออก ๒ กิโลเมตรไปทางทิศใต้
ข้อมูลแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม
แหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติ ประกอบด้วย
- ลำน้ำอูน 1 สาย
แหล่งน้ำผิวดินที่ขุดสร้างขึ้น ประกอบด้วย
- ทำนบ รวม – แห่ง
- บ่อน้ำตื้น รวม – แห่ง
- บ่อโยก รวม – แห่ง
- บ่อบาดาล รวม – แห่ง
ข้อมูลการพาณิชย์
จำแนกตามประเภทของการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบการได้ ดังนี้
ประเภท | รายการ | จำนวน (แห่ง) |
การให้บริการ | ร้านอาหาร | ๔ |
โรงแรม | – | |
โรงภาพยนต์ | – | |
สถานีขนส่ง/สถานีรอรับผู้โดยสาร | ๑ | |
สถานีบริการน้ำมัน/ปั๊มหลอด | ๖ | |
ธนาคาร | ๑ | |
การพาณิชย์ | ร้านสะดวกซื้อ | – |
ร้านค้าทั่วไป | ๔๗ | |
ร้านอินเตอร์เน็ต/ร้านเกมส์ | ๓ | |
ตลาดสด | ๑ | |
ร้านซ่อมทั่วไป | – | |
อู่ซ่อมรถยนตร์/จักรยานยนต์ | – |
ข้อมูลกลุ่มอาชีพ
จำแนกตามประเภทของการยื่นขอจดทะเบียนเป็นกลุ่มอาชีพได้ ดังนี้
- กลุ่มผลิตปุ๋ย
- กลุ่มผ้าไหม
ข้อมูลสินค้าเกษตร
สินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดประกอบด้วย ข้าวเปลือก อ้อย และผลผลิตจากการเลี้ยงสัตว์
สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพประกอบด้วย ผ้าไหม ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน และเสื่อทอมือ
สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพประกอบด้วย ผ้าไหม ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน และเสื่อทอมือ